วันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2551

การแก้ไขปัญหาของผู้โดยสาร

กรมการขนส่ง กำหนดมาตรการเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถโดยสารสาธารณะ พร้อมเร่งดำเนินการตรวจ สภาพรถ และจัดระเบียบการรับสมัครพนักงานให้เข้มข้นขึ้น เชื่อสร้างความอุ่นใจให้กับประชาชนผู้ใช้บริการนายนิกร จำนง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ได้มอบหมายให้กรมการขนส่งทางบก พิจารณากำหนดมาตรการแก้ไข้ปัญหา การที่ประชาชนไม่ค่อยได้รับความปลอดภัยในการโดยสารรถสาธารณะ โดยเฉพาะรถประจำทาง เพื่อสร้างความอุ่นใจให้กับประชาชนเมื่อต้องโดยสารรถสาธารณะปัจจุบันจะเห็นได้ว่ามีเหตุการณ์เกี่ยวกับอุบัติเหตุจากการโดยสารรถสาธารณะบ่อยครั้ง เช่น รถโดยสารประจำทาง ขับรถอย่างประมาท ทำให้รถพลิกคว่ำ ผู้โดยสารเสียชีวิตและบาดเจ็บ เป็นต้น ซึ่งในแต่ละครั้งก็ยังไม่ได้มีการคิดมาตรการที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหาเหล่านั้น ทำให้เกิดปัญหาตามมาอีกเป็นลำดับ กระทรวงคมนาคมได้เล็งเห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้น จึงคิดแก้ไขปัญหาต่างๆ เพื่อให้ประชาชนที่ต้องโดยสารรถสาธารณะเกิดความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นนายนิกร จำนง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ได้มอบหมายให้กรมการขนส่งทางบกพิจารณากำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาความปลอดภัยของผู้โดยสารรถสาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถโดยสารประจำทาง และกรมการขนส่งทางบกได้เสนอมาตรการในการควบคุมตามนโยบายด้านความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน ดังนี้
1.กำหนดให้ดำเนินการตรวจสภาพความพร้อมของรถโดยสารสาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถโดยสารประจำทาง ว่าสมควรจะมีการปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสม กับการใช้งานหรือไม่ และความปลอดภัยตามหลักวิศวกรรมหรือไม่ หากไม่เหมาะสมก็เห็นควรให้มีการปรับปรุงหรือยกเลิกการใช้รถดังกล่าว
2.ให้มีการตรวจสอบประวัติและคุณสมบัติการเป็นผู้ประจำรถ (พนักงานขับรถ และพนักงานเก็บค่าโดยสาร) ว่าเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ประจำรถตามกฎหมายหรือไม่ หากตรวจพบว่าไม่มีใบอนุญาตให้ผู้ประกอบการขนส่งห้ามผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่จนกว่าจะได้รับใบอนุญาตถูกต้อง พร้อมกันนี้ให้ผู้ประกอบการจัดให้มีการอบรมผู้ประจำรถ เพื่อให้มีคุณสมบัติของการเป็นผู้ขับรถที่ดีและมีมารยาทในการให้บริการ
3.ให้ผู้ประกอบการขนส่งด้วยรถโดยสารสาธารณะจัดทำบัตรประจำตัวผู้ขับรถตามกฎกระทรวงฉบับที่ 33 (พ.ศ.2534) ออกตามความใน พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 และหมายเลขเส้นทาง หมายเลขรถ หลายเลขทะเบียนรถ ตามนโยบายของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และกำหนดให้ติดประจำรถโดยสารทุกคัน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถตรวจสอบได้ และประชาชนผู้โดยสารสามารถร้องเรียนกรณีผู้ประจำรถกระทำผิดกฎหมายหรือมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
4.ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดให้มีการประชุมผู้ประกอบการขนส่งรถโดยสารสาธารณะ เพื่อรับทราบเกี่ยวกับการปฏิบัติให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบก (พ.ศ. 2522) และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการบริหารการจัดการเดินรถที่ดี เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการเดินทางและสร้างความพึงพอใจแก่ผู้โดยสารในการใช้บริการ
5.ให้มีการจัดระเบียบการเข้าใช้ป้ายหยุดรถโดยสารประจำทาง โดยการจัดทำพื้นที่ที่ใช้เฉพาะสำหรับการหยุดรถโดยสารประจำทางเท่านั้น และรถโดยสารสามารถจอดรับ-ส่งผู้โดยสารได้ตามพื้นที่ที่ได้กำหนดไว้เท่านั้น โดยให้ประชาชนผู้ใช้บริการสามารถขึ้น-ลงรถได้ตามลำดับ เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการใช้รถ และป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ อันเนื่องมาจากการรับส่งผู้โดยสารนอกป้าย

ประโยชน์การขนส่ง

ตนไม่เห็นด้วยกับการลงทุนในโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศสุวรรณภูมิและสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง ( แอร์พอร์ตลิงค์) ที่เป็นนโยบายของรัฐบาลชุดก่อน เพราะเป็นโครงการที่ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน เป็นไปไม่ได้ที่จะมีผู้เข้ามาใช้บริการมากถึง 200,000-300,000 คนต่อวัน และอยากให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ไปตรวจสอบการดำเนินโครงการ เนื่องจากโครงการนี้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอให้เอกชนเป็นผู้ก่อสร้าง โดยกระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)“ถ้าเป็นผม ผมจะไม่ทำโครงการนี้ เพราะเท่าที่ดู ไม่คุ้มทุน มีการเสนอว่า มีคนมาใช้ 200,000 – 300,000 คนต่อวัน ผมว่าเป็นไปไม่ได้ โครงการนี้ต้องให้เอกชนลงทุน เมื่อเอกชนลงทุนสร้าง แต่ไม่คุ้มทุน วิธีการคือ ให้มีมติ ครม.เพื่อให้ ร.ฟ.ท. ซื้อทันทีที่สร้างเสร็จ แต่ธนาคารพาณิชย์ไม่เชื่อว่า รฟท. จะมีเงินมาซื้อ เลยมีมติ ครม.ว่า ถ้า ร.ฟ.ท. กู้ไม่ได้ก็ให้คลังค้ำประกันเงินกู้ให้ ซึ่งไม่ถูกต้อง ส่วนกรณีที่กระทรวงการคลังค้ำประกันเงินกู้ในโครงการดังกล่าว ถือว่าเป็นการดำเนินตาม ครม.ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ม.ร.ว. ปรีดิยาธร ได้สอบถามผู้ที่อนุมัติการเข้าค้ำประกัน เงินกู้โครงการดังกล่าว และกล่าวตำหนิว่า กระทรวงการคลังไม่ควรเข้าค้ำประกัน เพราะเป็นโครงการที่ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน จึงให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทำหนังสือรายงานถึงขั้นตอนการเข้าไปค้ำประกันเงินกู้ ทั้งนี้ ในหนังสือรายงานได้ระบุชัดเจน การเข้าไปค้ำประกันเงินกู้โครงการแอร์พอร์ตลิงค์ ได้ดำเนินไปตามมติ ครม.ม.ร.ว. ปรีดิยาธรกล่าวว่า ตอนที่กระทรวงคมนาคมเสนอมาว่า เป็นโครงการลงทุนที่เร่งด่วนต้องเร่งสร้างเพื่อให้ทันการก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ กระทรวงการคลังก็เห็นตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอว่าเป็นโครงการที่ควรดำเนินการ ส่วนการอนุมัติให้กระทรวงการคลังค้ำประกันเงินกู้ นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นผู้ลงนามแต่เป็นการลงนามภายหลังจากที่ ครม. อนุมัติและสั่งการให้กระทรวงการคลังค้ำประกันเงินกู้ จึงถือว่าเป็นการดำเนินการที่ผ่านกระบวนการของ ครม.สำหรับการออกหนังสือยืนยันการค้ำประกันเงินกู้ให้แก่ ร.ฟ.ท. ในการดำเนินโครงการ กระทรวงการคลังยืนยันว่าทำตามมติ ครม. วันที่ 17 ส.ค. 2547 ต่อมาวันที่ 18 ม.ค. 2548 ครม. กำหนดให้กระทรวงการคลังค้ำประกันกรณีที่ รฟท. ต้องหาแหล่งเงินกู้และดำเนินการอื่นๆที่จำเป็น เพื่อชำระค่าก่อสร้างและค่าใช้จ่ายให้แก่เอกชนผู้ลงทุน จึงเป็นหน้าที่ของกระทรวงการคลัง ในการออกหนังสือยืนยันการให้ความสนับสนุนทางการเงินแก่ รฟท. เนื่องจากผู้ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่โครงการและกลุ่มกิจการร่วมค้า ได้ขอความอนุเคราะห์ผ่าน รฟท. ดังนั้น การตอบหนังสือของกระทรวงการคลังจึงเป็นเพียงการปฏิบัติราชการตามปกติ ทั้งนี้โครงการนี้มีมูลค่าลงทุน 25,000 ล้านบาท มีระยะทางจากมักกะสันถึงสนามบินสุวรรณภูมิ 28 กิโลเมตร ขนาดราง 1.43 เมตร สามารถเชื่อมต่อกับระบบขนส่งด้วยราง (รถไฟฟ้าทั้ง 5 สาย ) ได้ในอนาคต

อ้างอิง

อ้างอิง
http://www.moc.go.th/
http://www.panyathai.or.th/
http://www.openbase.in.th/
http://www.goodpracticemodel.com/
http://www.rakbankerd.com/
http://www.grandprixgroup.com

จัดทำโดย นางสาวสุกัญญา ประสาร ปวส1 การตลาด 1 เลขที่ 34

วันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ความหมายของการควบคุมการขนส่งทางบก

ความหมายของการขนส่ง การขนส่ง (Transportation) หมายถึง การลำเลียงหรือเคลื่อนย้ายบุคคลหรือสิ่งของด้วยอุปกรณ์การขนส่งในทางธุรกิจ การขนส่ง เป็นกระบวนการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภคหรือเป็นการเคลื่อนย้ายวัตถุดิบไปยังโรงงานเพื่อทำการผลิตสินค้าหรือบริการ โดยใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ในการขนส่งเป็นพาหนะพาไปตามความต้องการและเกิดอรรถประโยชน์ตามที่ผู้กำการขนส่งต้องการจากที่กล่าวมาข้างต้น การขนส่งต้องประกอบด้วยลักษณะต่าง ๆ ดังนี้ 1. เป็นกิจกรรมที่ต้องมีการเคลื่อนย้ายบุคคล สัตว์ หรือสิ่งของ จากที่แหล่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่ง2. ต้องใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ในการขนส่งทำการเคลื่อนย้าย3. จะต้องเป็นไปตามความต้องการและเกิดประโยชน์ตามที่ผู้ทำการขนส่งต้องการ
องค์ประกอบของการขนส่งการขนส่งทุกประเภทมีองค์ประกอบสำคัญดังนี้1. ผู้ประกอบการขนส่ง หมายถึง ผู้ดำเนินกิจการขนส่ง ได้แก่ เจ้าของกิจการขนส่ง เจ้าของอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ในการขนส่ง อาจดำเนินงานโดยเอกชนหรือรัฐบาลก็ได้2. เส้นทางการขนส่ง หมายถึง ทางที่ใช้ในการขนส่ง เช่น แม่น้ำ ลำคลอง ถนน เป็นต้น 3. เครื่องมือ - อุปกรณ์ขนส่ง หมายถึง เครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการขนส่ง เช่น เรือ รถยนต์ รถไฟ เครื่องบิน เป็นต้น4. สถานีรับ - ส่ง หมายถึง สถานที่ที่กำหนดให้เป็นจุดรับ-ส่งสิ่งที่ทำการขนส่ง เช่น ป้ายจอดรถประจำทาง สนามบิน สถานีรถไฟ ท่าเรือ เป็นต้น
ลักษณะของการขนส่งที่ดีการขนส่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำเนินชีวิตของมนุษย์และการดำเนินธุรกิจ ดังนั้น เพื่อให้การขนส่งมีประสิทธิภาพ ควรมีลักษณะการขนส่งที่ดีดังนี้1. มีความปลอดภัย ซึ่งในการขนส่งต้องมีระบบการป้องกันการสูญเสียที่จะเกิดขึ้นกับสิ่งที่ทำการขนส่ง การขนส่งที่มีประสิทธิภาพควรมีลักษณะที่มีความปลอดภัย2. มีความรวดเร็วตรงต่อเวลา ทันเวลาตามความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งปัจจุบันการแข่งขันด้านธุรกิจค่อนข้างสูง ถ้าการขนส่งไม่รวดเร็วตรงเวลาย่อมทำให้ไม่ทันคู่แข่งข้น และสินค้าบางประเภทมีขอจำกัดในเรื่องของเวลา เช่น ผลไม้ ดอกไม้ สิ่งมีชีวิต ถ้าขนส่งล่าช้าจะทำให้สินค้าเน่าเสียทำให้ธุรกิเสียหายได้3. ประหยัดค่าใช้จ่าย ซึ่งการขนส่งถือว่าเป็นต้นทุนประเภทหนึ่งของการประกอบธุรกิจ ดังนั้น ผู้ประกอบธุรกิจต้องเลือกการขนสงที่เหมาะสมและเสียค่าใช้จ่ายต่ำ เพื่อทำให้ธุรกิจมีกำไรมากขึ้น4. มีความสะดวกสบาย ผู้ประกอบธุรกิจต้องเลือกวิธีการขนส่งทีเหมาะสมและมีความสะดวกสบาย เพื่อจะได้ทำให้การดำเนินธุรกิจมีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น



รูปภาพ

การขนส่งทางบก













การขนส่งทางบก
การขนส่งทางบก


ขั้นตอนการขนส่งทางบก

กระบวนการลดขั้นตอนในการทำงานของกรมการขนส่งทางบก เริ่มจาก
1. ศึกษาวิธีการทำงานในอดีต
2. สามารถลดขั้นตอนการทำงานใดลงได้บ้าง
3. วิธีการทำงานที่ดีที่สุดในเรื่องนั้นคืออย่างไร
4. วางแผนระบบที่เหมาะสมที่สุดกับงานนั้น ทำให้การปรับระบบงานให้ดีขึ้นได้ และการเชื่อมโยงกับหน่วยงานอื่นภายในกรมฯ ง่ายขึ้น
5. ทำเรื่องที่ง่ายที่สุด (User Friendly) และระบบที่น้อยที่สุดก่อน เพื่อให้เกิดกำลังใจวิธีการดำเนินงานที่จะให้ประสบความสำเร็จ

1. การระดมความคิดเห็น
2. ทำงานเป็นทีม
3. การมีส่วนร่วม
4. การสร้างแรงจูงใจให้กับเจ้าหน้าที่
การพัฒนาปรับปรุงกระบวนงาน มีขั้นตอนดังนี้
1. เจ้าหน้าที่ในแต่ละขั้นตอนบันทึกเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติงานแต่ละขั้นตอน โดยบันทึกเวลาที่เริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่ตนรับผิดชอบ หลังจากนั้นคณะกรรมการของกรมการขนส่งทางบกนำข้อมูลที่ได้รับจากเจ้าหน้าที่จำนวนมากมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงขั้นตอนที่ใช้เวลานาน มีการประชุมเพื่อหาแนวทางแก้ไขและกำหนดเวลามาตรฐานของแต่ละขั้นตอน โดยแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบและนำไปปฏิบัติเป็นส่วนรวม นอกจากนี้กรมฯ ยังได้มอบอำนาจให้ข้าราชการระดับหัวหน้า/เจ้าหน้าที่ลงนามแทน และตรวจสอบความถูกต้องด้วยตัวเอง
2. การจัดทำประกาศผังขั้นตอนการให้บริการในงานด้านต่างๆ เพื่อให้ผู้รับบริการและเจ้าหน้าที่ของกรมฯ ทราบขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ถูกต้อง รวมถึงระยะเวลาในการให้บริการ ทำให้ประชาชนสามารถวางแผนการเข้ารับบริการจากทางกรมฯ ได้
3. การคัดเลือกผู้ปฏิบัติงานที่มีความรู้ ความชำนาญใหม่ที่ปรับปรุงขั้นตอนมาให้บริการ ตั้งแต่เริ่มปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ วัฒนธรรม และค่านิยมในการทำงาน จนมาถึงการให้บริการแบบเบ็ดเสร็จในจุดเดียว (One Stop Service) เนื่องจากขั้นตอนการทำงานใหม่ย่อมเกิดปัญหาตลอดเวลา การให้ผู้เชี่ยวชาญมาทำงานก่อนจะสามารถแก้ไขปัญหาให้การทำงานลุล่วงได้ด้วยดี และเป็นตัวอย่างให้แก่ผู้ปฏิบัติงานคนอื่นๆต่อไป
4. การนำคอมพิวเตอร์มารวบรวมฐานข้อมูลของกรมฯ แบบรวมศูนย์ข้อมูลกลาง (Centralized Data) ทำให้เจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบข้อมูลกับหน่วยงานอื่นภายในกรมฯ ได้ทันที (Real Time) และปรับปรุงข้อมูล (Update) ให้ทันสมัยสมบูรณ์ถูกต้อง มีระบบรักษาความปลอดภัยข้อมูล (Data Security) หลังจากนั้นสามารถเชื่อมโยงข้อมูลกับฐานข้อมูลภาครัฐในหน่วยงานอื่น เช่น ข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งฐานข้อมูลที่สมบูรณ์ทำให้สามารถรับบริการต่อทะเบียนรถ ณ สำนักงานขนส่งแห่งหนึ่งแห่งใดได้ทั่วประเทศ นอกจากนี้ระบบฐานข้อมูลยังช่วยในการคำนวณภาษีที่ต้องชำระได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว แม้เจ้าของรถไม่ได้นำสมุดคู่มือจดทะเบียนรถมาก็สามารถรับบริการชำระภาษีได้ โดยจะแสดงเป็นหลักฐานในใบเสร็จการชำระภาษีป้ายทะเบียน
5. การปรับปรุงช่องรับบริการ (Counter) จากที่มีเคาน์เตอร์สูงทึบกั้นระหว่างประชาชนผู้รับบริการกับเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการเป็นการทำเคาน์เตอร์ที่ต่ำลง โปร่งโล่ง แบบธนาคาร เพื่อให้ผู้รับบริการรู้สึกเป็นกันเอง (User Friendly) สามารถสอบถามข้อมูล กระบวนการวิธีทำงาน และสอบถามปัญหาที่สงสัยได้ รวมถึงการนำเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์มาประจำที่ช่องเคาน์เตอร์รับเรื่อง เพื่อสามารถพิมพ์เอกสารส่งใบเสร็จและทะเบียนรถคืนแก่ผู้รับบริการได้ทันที
6. การนำระบบบัตรคิวอัตโนมัติมาใช้ เพื่อสามารถให้บริการก่อน-หลัง ตามลำดับที่มารับบริการ ก่อให้เกิดการทำงานที่โปร่งใส เป็นธรรมต่อประชาชน
7. แยกขั้นตอนการปฏิบัติงานซึ่งสามารถดำเนินการได้ในภายหลัง โดยแยกเป็นงาน Front Office คือการให้บริการประชาชนและ Back Office คือการจัดเก็บเอกสาร และขั้นตอนการดำเนินงานระหว่างหน่วยงานในองค์กรไม่เกี่ยวกับประชาชน ทำให้ในช่วงเวลาให้บริการประชาชนสามารถนำเวลาไปให้บริการได้เต็มที่ ส่วนงานที่ต้องเก็บเอกสารหรือสะสางต่อจากงานให้บริการ (Back Office) ก็แยกไว้ทำภายหลังจากหมดเวลาให้บริการแล้ว เช่น การจัดเก็บต้นขั้วใบทะเบียนรถ หรือการเก็บเรื่องเดิม
8. การจัดเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ เพื่ออำนวยความสะดวก และคอยให้คำแนะนำแก่ประชาชนผู้ใช้บริการ รวมถึงการเปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 8.00 น. โดยไม่มีการพักลางวัน แต่ให้พนักงานที่ทำงานด้านบริการสลับเวลาพักกลางวันกันเอง เป็นการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการทำงาน นำตัวอย่างจากภาคเอกชน เช่น การบริการของพนักงานธนาคารในช่วงเวลาพักกลางวันมาเป็นแนวทาง ทำให้เกิดวัฒนธรรมและค่านิยมในการให้บริการ ที่คำนึงถึงความต้องการของประชานเป็นศูนย์กลาง
การให้บริการโดย“การเอาใจเขามาใส่ใจเรา” เป็นการระบุถึงความพยายามปรับปรุงกระบวนการ การแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น รวมถึงแก้ไขกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคในการดำเนินการและลดขั้นตอนในการทำงานให้ดีที่สุดจนถึงการบริการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว (One Stop Service) และบริการที่จัดขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้มารับบริการในกรมฯ เช่นจอดรถสำหรับประชาชนผู้มาติดต่อเท่านั้น (เจ้าหน้าที่กรมฯ ไม่สามารถจอดได้) หรือมีรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้าบริการภายในกรมฯ เนื่องจากพื้นที่ของกรมการขนส่งทางบกมีขนาดกว้างขวาง การติดต่อในหลายหน่วยงานที่ห่างจากถนนอาจกระทำได้ลำบาก เป็นต้น
กรมการขนส่งทางบกมีปัญหาเรื่องลานจอดรถไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชนในการทำธุรกรรมเกี่ยวกับรถประเภทต่างๆ เช่น การต่อทะเบียนรถ การทำใบขับขี่ การตรวจสภาพรถ และบริการอื่นๆ ทำให้เสียเวลาในเรื่องการหาที่จอดรถ ที่ประชุมสภากาแฟได้แนวคิดจากร้านแมคโดนัลที่ขายแฮมเบอร์เกอร์ในต่างประเทศ ที่มีการจัดการแบบ Drive Thru ทำให้ประหยัดเวลา ไม่ต้องหาที่จอดรถ และได้นำเสนอผู้บริหารระดับสูง ซึ่งเนื่องจากผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ จึงก่อให้เกิดการให้บริการเสียภาษีรูปแบบใหม่สำหรับประชาชนทั่วไป โดยใช้ชื่อว่า “Drive Thru for Tax”
ปัญหาและอุปสรรค การเปลี่ยนแปลงของกรมการขนส่งทางบกเกิดจากบุคคล 3 กลุ่มคือกลุ่มผู้บุกเบิก กลุ่มผู้ตาม และกลุ่มผู้มาที่หลัง
- กลุ่มผู้บุกเบิก จะดำเนินการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงาน ตามกระบวนการใหม่ๆ ในโครงการนำร่อง
- กลุ่มผู้ตาม ซึ่งไม่มีความมั่นใจในตอนแรกเกี่ยวกับการพัฒนา ปรับปรุงการทำงานในช่วงแรก จะเกิดความมั่นใจ หลังจากกลุ่มผู้บุกเบิกประสบความสำเร็จแม้เพียงเล็กน้อยก็ตาม กลุ่มผู้ตามจะเข้าร่วมในกระบวนการเปลี่ยนแปลงนั้น
- กลุ่มผู้มาที่หลัง ประกอบด้วยผู้ที่มีความรู้ หรือ ประสบการณ์น้อย รวมถึงผู้ที่มีทัศนคติไม่ดีต่อผู้ริเริ่มการเปลี่ยนแปลง ทำให้ไม่เข้าร่วมโครงการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในช่วงแรก เมื่อบุคคลกลุ่มนี้ต้องทำงานตามขั้นตอนใหม่ ซึ่งมีการพัฒนาแล้วจะศึกษาจากทั้งสองกลุ่มข้างต้น โดยมีกระบวนการที่ไม่แตกต่างกับกลุ่มผู้ตาม เมื่อกลุ่มผู้มาทีหลังสามารถทำงานตามขั้นตอนใหม่ได้สำเร็จ ก็จะเปลี่ยนกระบวนทัศน์ และทัศนคติของตนตามแนวใหม่ เรื่องการเปลี่ยนแปลงการทำงานเป็นเรื่องง่าย ทุกคนสามารถทำได้ เป็นต้น (แต่อาจมีบางคนที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้)
ผลลัพธ์/ผลสำเร็จที่เกิดขึ้น
1. ประชาชนสามารถมาใช้บริการ โดยไม่ต้องเตรียมเอกสารมากมาย เช่น ชำระภาษีรถประจำปีได้ โดยไม่ว่าจะนำสมุดทะเบียนรถมาด้วยหรือไม่ก็ตาม หรือการไม่จำเป็นต้องนำเอกสารทางทะเบียนราษฎร์ มาติดต่อกับกรมการขนส่งทางบก เนื่องจากกรมฯ สามารถเชื่อมต่อฐานข้อมูลกับหน่วยราชการอื่นได้
2. ประชาชนสามารถรับบริการจากกรมการขนส่งทางบกที่ใดก็ได้ทั่วประเทศ เช่น สามารถชำระภาษีรถได้ทั่วไทย ทำให้ประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายในการเดินทางของผู้รับบริการ
3. มีความพึงพอใจในการมาใช้บริการที่กรมการขนส่งทางบกจนได้รับรางวัล “คุณภาพการให้บริการประชาชน” จากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงานก.พ.ร.) ตั้งแต่ปี 2546 – 2549 เป็นเวลา 4 ปีซ้อน
4. บุคลากรของกรมการขนส่งทางบกมีความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง และภาคภูมิใจในการเป็นข้าราชการและพนักงานของรัฐที่ดี
5. การทำงานต่างๆ มีขั้นตอนอย่างชัดเจน ทำให้เกิดการโปร่งใส เป็นธรรม

หลักการควบคุมการขนส่ง

การควบคุมการขนส่งทางบก
มาตรา 16 ให้มีคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางคณะหนึ่งประกอบด้วยปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงมหาดไทยหรือผู้แทนเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาหรือผู้แทนเลขาธิการเร่งรัดพัฒนาชนบทหรือผู้แทน อธิบดีกรมตำรวจหรือผู้แทน อธิบดีกรมทางหลวงหรือผู้แทน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้แทนเป็นกรรมการ และผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งอีกไม่เกินสามคนเป็นกรรมการ ทั้งนี้ โดยให้มีผู้มีความรู้และมีความจัดเจนในการขนส่งรวมอยู่ด้วย
ให้อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการ
ให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการได้ตามความจำเป็น
มาตรา 17 ให้มีคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดทุกจังหวัด ยกเว้นกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานกรรมการ อัยการจังหวัด ผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดเป็นกรรมการ และผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งอีกไม่เกินห้าคน โดยมีนายกเทศมนตรีในจังหวัดนั้นรวมอยู่ด้วยหนึ่งคนเป็นกรรมการ
ให้ขนส่งจังหวัดเป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการ
ให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการได้ตามความจำเป็น
มาตรา 18 ให้นำมาตรา 9 มาตรา 10 มาตรา 11 มาตรา 12 และมาตรา 13 มาใช้บังคับแก่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง และคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดโดยอนุโลม
มาตรา 19 ให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) กำหนดลักษณะของการขนส่งประจำทางและการขนส่งไม่ประจำทาง
(2) กำหนดเส้นทาง จำนวนผู้ประกอบการขนส่ง และจำนวนรถสำหรับการขนส่งประจำทางในเขตกรุงเทพมหานครระหว่างจังหวัดและระหว่างประเทศ
(3)กำหนดจำนวนผู้ประกอบการขนส่งและจำนวนรถสำหรับการขนส่งไม่ประจำทางในเขตกรุงเทพมหานคร ระหว่างจังหวัดและระหว่างประเทศ
(4) กำหนดเส้นทาง จำนวนผู้ประกอบการขนส่ง และจำนวนรถสำหรับการขนส่ง โดยรถขนาดเล็ก
(5) กำหนดจำนวนผู้ประกอบการรับจัดการขนส่ง
(6) กำหนดอัตราค่าขนส่งและค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง
(7) กำหนดอัตราค่าบริการในการดำเนินการของสถานีขนส่ง
(8) กำหนดสถานที่ จัดให้มีหรือจัดตั้ง และระเบียบเกี่ยวกับสถานีขนส่ง
(9) กำหนดชนิดหรือสภาพรถที่มิให้รับจดทะเบียน
(10) กำหนดประเภทหรือชนิดของรถที่ต้องเข้าหยุดหรือจอดเพื่อการรับส่งผู้โดยสารหรือขนถ่ายสินค้า ณ สถานีขนส่ง
(11) กำหนดที่หยุดหรือจอดรถเพื่อรับส่งผู้โดยสาร
(12) วางมาตรการในการกำหนด อนุญาต เพิกถอนการอนุญาตและการควบคุมกิจการขนส่งทางบก
(13) ปฏิบัติการอื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ และตามมติคณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบก