วันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2551

การแก้ไขปัญหาของผู้โดยสาร

กรมการขนส่ง กำหนดมาตรการเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถโดยสารสาธารณะ พร้อมเร่งดำเนินการตรวจ สภาพรถ และจัดระเบียบการรับสมัครพนักงานให้เข้มข้นขึ้น เชื่อสร้างความอุ่นใจให้กับประชาชนผู้ใช้บริการนายนิกร จำนง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ได้มอบหมายให้กรมการขนส่งทางบก พิจารณากำหนดมาตรการแก้ไข้ปัญหา การที่ประชาชนไม่ค่อยได้รับความปลอดภัยในการโดยสารรถสาธารณะ โดยเฉพาะรถประจำทาง เพื่อสร้างความอุ่นใจให้กับประชาชนเมื่อต้องโดยสารรถสาธารณะปัจจุบันจะเห็นได้ว่ามีเหตุการณ์เกี่ยวกับอุบัติเหตุจากการโดยสารรถสาธารณะบ่อยครั้ง เช่น รถโดยสารประจำทาง ขับรถอย่างประมาท ทำให้รถพลิกคว่ำ ผู้โดยสารเสียชีวิตและบาดเจ็บ เป็นต้น ซึ่งในแต่ละครั้งก็ยังไม่ได้มีการคิดมาตรการที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหาเหล่านั้น ทำให้เกิดปัญหาตามมาอีกเป็นลำดับ กระทรวงคมนาคมได้เล็งเห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้น จึงคิดแก้ไขปัญหาต่างๆ เพื่อให้ประชาชนที่ต้องโดยสารรถสาธารณะเกิดความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นนายนิกร จำนง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ได้มอบหมายให้กรมการขนส่งทางบกพิจารณากำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาความปลอดภัยของผู้โดยสารรถสาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถโดยสารประจำทาง และกรมการขนส่งทางบกได้เสนอมาตรการในการควบคุมตามนโยบายด้านความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน ดังนี้
1.กำหนดให้ดำเนินการตรวจสภาพความพร้อมของรถโดยสารสาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถโดยสารประจำทาง ว่าสมควรจะมีการปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสม กับการใช้งานหรือไม่ และความปลอดภัยตามหลักวิศวกรรมหรือไม่ หากไม่เหมาะสมก็เห็นควรให้มีการปรับปรุงหรือยกเลิกการใช้รถดังกล่าว
2.ให้มีการตรวจสอบประวัติและคุณสมบัติการเป็นผู้ประจำรถ (พนักงานขับรถ และพนักงานเก็บค่าโดยสาร) ว่าเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ประจำรถตามกฎหมายหรือไม่ หากตรวจพบว่าไม่มีใบอนุญาตให้ผู้ประกอบการขนส่งห้ามผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่จนกว่าจะได้รับใบอนุญาตถูกต้อง พร้อมกันนี้ให้ผู้ประกอบการจัดให้มีการอบรมผู้ประจำรถ เพื่อให้มีคุณสมบัติของการเป็นผู้ขับรถที่ดีและมีมารยาทในการให้บริการ
3.ให้ผู้ประกอบการขนส่งด้วยรถโดยสารสาธารณะจัดทำบัตรประจำตัวผู้ขับรถตามกฎกระทรวงฉบับที่ 33 (พ.ศ.2534) ออกตามความใน พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 และหมายเลขเส้นทาง หมายเลขรถ หลายเลขทะเบียนรถ ตามนโยบายของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และกำหนดให้ติดประจำรถโดยสารทุกคัน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถตรวจสอบได้ และประชาชนผู้โดยสารสามารถร้องเรียนกรณีผู้ประจำรถกระทำผิดกฎหมายหรือมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
4.ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดให้มีการประชุมผู้ประกอบการขนส่งรถโดยสารสาธารณะ เพื่อรับทราบเกี่ยวกับการปฏิบัติให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบก (พ.ศ. 2522) และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการบริหารการจัดการเดินรถที่ดี เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการเดินทางและสร้างความพึงพอใจแก่ผู้โดยสารในการใช้บริการ
5.ให้มีการจัดระเบียบการเข้าใช้ป้ายหยุดรถโดยสารประจำทาง โดยการจัดทำพื้นที่ที่ใช้เฉพาะสำหรับการหยุดรถโดยสารประจำทางเท่านั้น และรถโดยสารสามารถจอดรับ-ส่งผู้โดยสารได้ตามพื้นที่ที่ได้กำหนดไว้เท่านั้น โดยให้ประชาชนผู้ใช้บริการสามารถขึ้น-ลงรถได้ตามลำดับ เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการใช้รถ และป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ อันเนื่องมาจากการรับส่งผู้โดยสารนอกป้าย

ไม่มีความคิดเห็น: