วันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ประโยชน์การขนส่ง

ตนไม่เห็นด้วยกับการลงทุนในโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศสุวรรณภูมิและสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง ( แอร์พอร์ตลิงค์) ที่เป็นนโยบายของรัฐบาลชุดก่อน เพราะเป็นโครงการที่ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน เป็นไปไม่ได้ที่จะมีผู้เข้ามาใช้บริการมากถึง 200,000-300,000 คนต่อวัน และอยากให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ไปตรวจสอบการดำเนินโครงการ เนื่องจากโครงการนี้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอให้เอกชนเป็นผู้ก่อสร้าง โดยกระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)“ถ้าเป็นผม ผมจะไม่ทำโครงการนี้ เพราะเท่าที่ดู ไม่คุ้มทุน มีการเสนอว่า มีคนมาใช้ 200,000 – 300,000 คนต่อวัน ผมว่าเป็นไปไม่ได้ โครงการนี้ต้องให้เอกชนลงทุน เมื่อเอกชนลงทุนสร้าง แต่ไม่คุ้มทุน วิธีการคือ ให้มีมติ ครม.เพื่อให้ ร.ฟ.ท. ซื้อทันทีที่สร้างเสร็จ แต่ธนาคารพาณิชย์ไม่เชื่อว่า รฟท. จะมีเงินมาซื้อ เลยมีมติ ครม.ว่า ถ้า ร.ฟ.ท. กู้ไม่ได้ก็ให้คลังค้ำประกันเงินกู้ให้ ซึ่งไม่ถูกต้อง ส่วนกรณีที่กระทรวงการคลังค้ำประกันเงินกู้ในโครงการดังกล่าว ถือว่าเป็นการดำเนินตาม ครม.ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ม.ร.ว. ปรีดิยาธร ได้สอบถามผู้ที่อนุมัติการเข้าค้ำประกัน เงินกู้โครงการดังกล่าว และกล่าวตำหนิว่า กระทรวงการคลังไม่ควรเข้าค้ำประกัน เพราะเป็นโครงการที่ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน จึงให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทำหนังสือรายงานถึงขั้นตอนการเข้าไปค้ำประกันเงินกู้ ทั้งนี้ ในหนังสือรายงานได้ระบุชัดเจน การเข้าไปค้ำประกันเงินกู้โครงการแอร์พอร์ตลิงค์ ได้ดำเนินไปตามมติ ครม.ม.ร.ว. ปรีดิยาธรกล่าวว่า ตอนที่กระทรวงคมนาคมเสนอมาว่า เป็นโครงการลงทุนที่เร่งด่วนต้องเร่งสร้างเพื่อให้ทันการก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ กระทรวงการคลังก็เห็นตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอว่าเป็นโครงการที่ควรดำเนินการ ส่วนการอนุมัติให้กระทรวงการคลังค้ำประกันเงินกู้ นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นผู้ลงนามแต่เป็นการลงนามภายหลังจากที่ ครม. อนุมัติและสั่งการให้กระทรวงการคลังค้ำประกันเงินกู้ จึงถือว่าเป็นการดำเนินการที่ผ่านกระบวนการของ ครม.สำหรับการออกหนังสือยืนยันการค้ำประกันเงินกู้ให้แก่ ร.ฟ.ท. ในการดำเนินโครงการ กระทรวงการคลังยืนยันว่าทำตามมติ ครม. วันที่ 17 ส.ค. 2547 ต่อมาวันที่ 18 ม.ค. 2548 ครม. กำหนดให้กระทรวงการคลังค้ำประกันกรณีที่ รฟท. ต้องหาแหล่งเงินกู้และดำเนินการอื่นๆที่จำเป็น เพื่อชำระค่าก่อสร้างและค่าใช้จ่ายให้แก่เอกชนผู้ลงทุน จึงเป็นหน้าที่ของกระทรวงการคลัง ในการออกหนังสือยืนยันการให้ความสนับสนุนทางการเงินแก่ รฟท. เนื่องจากผู้ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่โครงการและกลุ่มกิจการร่วมค้า ได้ขอความอนุเคราะห์ผ่าน รฟท. ดังนั้น การตอบหนังสือของกระทรวงการคลังจึงเป็นเพียงการปฏิบัติราชการตามปกติ ทั้งนี้โครงการนี้มีมูลค่าลงทุน 25,000 ล้านบาท มีระยะทางจากมักกะสันถึงสนามบินสุวรรณภูมิ 28 กิโลเมตร ขนาดราง 1.43 เมตร สามารถเชื่อมต่อกับระบบขนส่งด้วยราง (รถไฟฟ้าทั้ง 5 สาย ) ได้ในอนาคต

ไม่มีความคิดเห็น: